แนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC

ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้ประเทศต่างๆในอาเซียนเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตสุกร โดยการเปิดรับการเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจการเลี้ยงสุกรและแปรรูปสุกรจากต่างประเทศ โดยแนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC ได้แก่

การเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้าทดแทนฟาร์มรายย่อยและการเลี้ยงสุกรแบบพื้นบ้าน เดิมการเลี้ยงสุกรส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงของ เกษตรกรรายย่อยและการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสุกรที่ผลิตได้นั้นไม่แน่นอน เนื่องจากมักจะประสบปัญหาในเรื่องระบบการจัดการฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะปัญหาการป้องกันโรคระบาดที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อปริมาณการผลิตสุกร ดังนั้น การพัฒนาการเลี้ยงสุกรในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาจึงมุ่งเน้นไปที่การเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้า หรือระบบลูกฟาร์ม โดยเน้นระบบการจัดการฟาร์มที่ทันสมัย ปลอดโรค ถูกสุขลักษณะ และปลอดจากสารเคมีตกค้างในเนื้อสุกร ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศแล้วยังเป็นการสร้างตลาดส่งออกในอนาคต เนื่องจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังคงไม่ได้รับการรับรองจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(The Office International des Epizooties :OIE) เป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการส่งออกเนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง โดยการส่งออกส่วนใหญ่ยังเป็นสุกรแปรรูป โดยเฉพาะเนื้อสุกรต้มสุก และผลิตภัณฑ์สุกรเท่านั้น

การพัฒนาโรงฆ่าและชำแหละสุกรที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล เดิมการฆ่าและชำแหละสุกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งระบบการจัด เก็บและการขนส่งที่ยังไม่มีระบบการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของเนื้อสุกรก่อนถึงมือผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคเนื้อสุกรสด และ นิยมซื้อจากตลาดสด ซึ่งปัจจุบันตลาดลักษณะนี้ยังเป็นตลาดส่วนใหญ่ของการจำหน่ายเนื้อสุกรในประเทศต่างๆในอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคเนื้อสุกรที่ได้มาตรฐานมากขึ้น ทำให้เริ่มมีตลาดเนื้อสุกรที่มีตรายี่ห้อ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการสร้างตลาดส่งออกในอนาคตอีกด้วย เนื่องจากผู้นำเข้าในต่างประเทศสามารถตรวจสอบ ย้อนกลับถึงระดับฟาร์มที่เลี้ยงสุกร และโรงฆ่าชำแหละสุกร ซึ่งทำให้มั่นใจในคุณภาพของเนื้อสุกร

การลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สุกร โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สุกรเริ่มเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากขึ้น จากเดิมที่มีการปรรูปผลิตภัณฑ์สุกรใน ลักษณะผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน เช่น ลูกชิ้นหมู กุนเชียง หมูยอ แหนม หมูหยอง หมูแผ่น เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโรงงานเหล่านี้มีการพัฒนาให้มีการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐานมากขึ้น และสามารถขยายตลาดส่งออกได้ด้วย นอกจากนี้ จากความนิยมบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์สุกรประเภทไส้กรอก แฮม เบคอน ฯลฯ ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีการตั้งโรงงานผลิตในบางประเทศในอาเซียนเช่น ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้า

การลงทุนขยายพื้นที่ปลูกวัตถุดิบอาหารสัตว์และตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป จากการขยายตัวของธุรกิจฟาร์มสุกรส่งผลให้ต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง นอกจากนี้ อาหารสัตว์นับว่าเป็นต้นทุนการผลิตสำคัญ โดยมีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 70 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ดังนั้น การมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพียงพอนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจการผลิตสุกร

สำหรับในอนาคตโรงงานผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปก็จะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในAECยังคงผสมอาหารเลี้ยงสุกรเอง แต่ในอนาคตเมื่อธุรกิจฟาร์มสุกรมีการพัฒนาเป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้ามากขึ้น เกษตรกรคงต้องหันไปใช้อาหารสัตว์สำเร็จรูปมากขึ้น ทั้งเพื่อการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิตสุกร รวมทั้งการควบคุมต้นทุนการผลิต เนื่องจากโรงงานอาหารสัตว์สำเร็จรูปมีการปรับส่วนผสมของวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละช่วงภาย ใต้การควบคุมคุณค่าของโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุของสุกร

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , , | Comments Off on แนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC

การพัฒนาการผลิตสุกร และตลาดสุกร ให้ตรงต่อความต้องการของตลาด

การเลี้ยงสุกร นับเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการลงทุนดังที่ทราบและเข้าใจกันทั่วไปเพราะความไม่แน่นอนของราคาตลาด ด้วยเหตุนี้บางครั้งการเลี้ยงสุกรสามารถที่จะทำให้ผู้เลี้ยงมีกำไร อย่างมากมายและสามารถร่ำรวยขึ้นมาได้ในระยะเวลาไม่นานนักซึ่งเป็นช่วงที่สุกรมีราคาสูงขึ้น แต่ถ้าหากราคาสุกรในตลาดต่ำลงผู้เลี้ยงก็จะพบกับการขาดทุนได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องมีความสามารถในการลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลงเพื่อที่จะให้เกิดการกำไร ขึ้นหรืออย่างน้อยก็ทำให้ขาดทุนน้อยลงในช่วงที่สุกรมีราคาตกต่ำ ซึ่งผู้เลี้ยงจะมีความสามารถ เลี้ยงสุกรให้รอดอยู่ได้จะต้องรู้จักพัฒนาตนเองโดยยึดหลักสำคัญในการเลี้ยงสุกร ดังนี้

1. พันธุ์สุกร พันธุ์สุกรมีความสำคัญมากต่อการได้กำไรหรือขาดทุนของผู้เลี้ยง สุกรที่นำมาเลี้ยงจะต้องมีความสามารถมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อได้สูงจะต้องมีคุณภาพซากดีคือให้เนื้อมากมันบาง และถ้าเป็นสุกรพันธุ์ก็จะต้องให้ลูกดก ลูกต่อครอกมากโดยมีความสม่ำเสมอสมบูรณ์และแข็งแรงดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องคอยเอาใจใส่เกี่ยวกับพันธุ์สุกรให้มากตลอดเวลาจะต้องพัฒนาพันธุ์สุกรให้ดีขึ้นเรื่อยๆเพราะถ้าสุกรให้ลูกดกโตเร็ว กินอาหารน้อย คุณภาพซากดี จะช่วยลดต้น ทุนการผลิตให้ต่ำลงซึ่งช่วย ให้มีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นได้
2. อาหาร อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรได้กำไรหรือขาดทุนเพราะต้นทุนในการผลิตจะเป็นค่าอาหารเสีย ประมาณ 70-85 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดีคือมีโภชนะต่าง ๆ ครบตามความต้องการของสุกรในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงพันธุ์หรือสายพันธุ์ของสุกรที่เลี้ยง เพศของสุกรนอกจากนี้ยังต้อง มีศิลปในการให้อาหารนั่นคือ ในการให้อาหารที่มีโภชนะสูงแก่สุกรอาจจะต้องมีการจำกัดอาหารให้กินอย่างถูกวิธี เพราะถ้าให้มากจนเกินไปก็จะเกิดการสูญเปล่าจะทำให้ไม่คุ้มทุน ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องมีการบันทึกข้อมูลเพื่อตรวจสอบอัตราการเจริญเติบโตประสิทธิภาพในการใช้อาหาร ต้นทุนการผลิตสุกรต่อตัวหรือต่อกิโลกรัมของน้ำหนักสุกรและควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพซากของสุกรเมื่อ 90-100 กิโลกรัมด้วย เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขสูตรอาหารหรือวิธีการให้อาหารให้ถูกต้องจะได้ลดต้นทุนการผลิตลงต่อไป
3. การจัดการฟาร์ม หมายถึงการดำเนินการหรือการปฏิบัติเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงสุกร ซึ่งจะต้องกระทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องเป็นผู้ที่สนใจขวนขวายหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาการจัดการเลี้ยงดูสุกรให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น เป็นการนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตลงและได้สุกรที่มีคุณภาพดี จะทำให้โอกาสที่จะขาดทุนน้อยลงไป
4. การตลาด ปัญหาตลาดสุกร เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ในขบวนการผลิตสุกรในปัจจุบัน เพราะผู้ผลิตจะต้องช่วงชิงแสวงหาตลาดของตนเองให้แน่นอนและยุติธรรมด้วยการแข่งขันกันทางด้านคุณภาพสุกรนั่นก็คือ การผลิตสุกรในอนาคตจะต้องคำนึงถึงคุณภาพให้ดีที่สุดและต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดด้วย ทั้งนี้เพื่อแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งทั่วโลกย่อมต้องการสุกรที่มีซากสวย คือเนื้อมาก มันบาง และถูกสุขลักษณะอนามัย ดังนั้น หากสุกรของเรามีคุณภาพดีก็สามารถที่จะหาตลาดได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นตลาดภายใน และต่างประเทศ

นอกจากนี้แล้วสภาวะราคาสุกรของตลาดภายในไม่แน่นอน ในบางครั้งปริมาณการผลิตสุกรลดน้อยลงจะด้วยสาเหตุของโรคระบาด หรือตามวัฏจักรสุกรก็ตามจะทำให้ราคาสุกรสูงขึ้น จะมีผลทำให้ไม่สามารถส่งออกไปขายแข่งขันราคากับประเทศผู้ส่งออกอื่น ๆ ได้

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on การพัฒนาการผลิตสุกร และตลาดสุกร ให้ตรงต่อความต้องการของตลาด

ความสำคัญและขั้นตอนการเพาะพันธ์หมูเพื่อให้ได้เนื้อหมูที่มีคุณภาพ

อาชีพการเลี้ยงสัตว์ที่นิยมเลี้ยงในหมู่บ้านต่างๆ ก็คือ การเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมูทั้งนี้เพราะสามารถเลี้ยงเป็นฟาร์มเล็กๆจำนวนไม่กี่ตัวก็ได้ เพราะใช้พื้นที่น้อยเลี้ยงง่ายใช้แรงงานน้อยและสามารถนำเศษอาหารมาใช้เป็นอาหารของสุกรได้นอกจากนี้มูลสุกรยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยหรืออาหารในบ่อเลี้ยงปลาได้ สุกรเป็นสัตว์เลี้ยงที่ขยายพันธุ์ได้เร็วมีลูกดกจึงเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื้อสุกรนั้นเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นส่วนมาก และ สามารถขายหรือจำหน่ายได้หลายๆตลาดทั้งในท้องถิ่นและตลาดที่รับซื้อทั่วไปในเมืองโดยผู้คนหรือเกษตรกร สามารถเลี้ยงสุกรได้ทั้งแบบเป็นฟาร์มขนาดเล็ก,ฟาร์มขนาดใหญ่ เนื่องด้วยการเลี้ยงสุกรนั้นใช้พื้นที่ไม่มากแถมยังมีการเลี้ยงที่ง่ายและไม่สับซ้อนจนเกินไป ในวันนี้ฟาร์มไทยจะมาแนะนำการเลี้ยงสุกรขุน เพราะการเลี้ยงสุกรขุนจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมู ในแบบอื่นๆและแถมการเลี้ยงสุกรขุนนั้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีอีกด้วยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เลี้ยงหรือเกษตรกรก็ต้องมีเงินลงทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหารเพื่อให้สุกรมีอาหารได้กินอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน

ส่วนเรื่องสถานที่การเลี้ยงนั้น เกษตรกรควรจะสร้างโรงเรือนให้อยู่ห่างจากชุมชนสักหน่อยถ้าเป็นไปได้เพราะการเลี้ยงสุกรอาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรงและอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในย่านนั้น หรือไม่เกษตรกรก็ต้องมีการจัดการกับระบบมูลสุกรหรือของเสียที่อาจจะส่งกลิ่นออกมาให้ดี แหละถ้าให้ดีควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่แพงมากจนเกินไป หรือ อาจจะใกล้แหล่งที่สามารถหาอาหารเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้อย่างเพืยงพอการตลาดเกษตรกรก็ควรศึกษาหาแหล่งตลาดที่รับซื้อสุกร ขายสุกร ทั้งที่สุกรยังมีชีวิต และตลาดที่รับสุกรชำแหละแล้วไว้ด้วยโดยพันธุ์สุกรที่เกษตรกรหรือผู้คนทั่วไปที่เลี้ยงสุกร จะนิยมนำมาขุน ส่วมมากจะนิยมใช้ผสม 2, 3, หรือ 4 สายพันธุ์ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต การเติบโต และ ความแข็งแรง ที่ดีกว่าการได้จากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิดพันธุ์เดียวกันพันธุ์ที่ส่วนมากใช้ในการผสมข้ามสายพันธุ์มีหลายพันธุ์ อย่าเช่น พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นตัน

Posted in สินค้าและบริการ | Comments Off on ความสำคัญและขั้นตอนการเพาะพันธ์หมูเพื่อให้ได้เนื้อหมูที่มีคุณภาพ

อุตสาหกรรมการผลิตสุกรเพื่อแข่งขันใน AEC

ประเทศในอาเซียนเป็นแหล่งผลิตสุกรที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก รองจากจีน สหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการ ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในอาเซียน ส่งผลให้รายได้ของประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้อัตราการบริโภคเนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัว ทำให้ประเทศในอาเซียนเร่งขยายการผลิตสุกรเพื่อรองรับความต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการส่งออกในภูมิภาคที่มีแนวโน้มเติบโตเช่นกัน

สำหรับไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน เนื่องจากผลิตภัณฑ์สุกรของไทยได้รับการยอม รับจากประเทศในอาเซียนถึงมาตรฐานการผลิต ตั้งแต่ในระดับฟาร์มไปจนถึงระดับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริโภคสุกรในประเทศยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆโดย เฉพาะเวียดนาม ซึ่งแม้ว่าจะผลิตสุกรได้มากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน แต่ปริมาณการบริโภคในประเทศก็อยู่ในเกณฑ์สูงเช่นกัน ดังนั้น ไทยมีโอกาสอย่างมากในการขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ในAEC โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สุกร รวมทั้งยังมีโอกาสในการขยายเข้าไปลงทุนในธุรกิจฟาร์มสุกรและโรงงานแปรรูปสุกรในประเทศอาเซียนใหม่ โดยเฉพาะลาว และ กัมพูชา ซึ่งรัฐบาลแต่ละประเทศให้การสนับสนุนการเข้าไปลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศเพื่อยกระดับมาตรฐานและขยายปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมสุกรของประเทศ

ประเทศในอาเซียนที่มีการส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์คือ ไทย(สัดส่วนร้อยละ 0.25 ของปริมาณการส่งออกสุกรของโลก) และ เวียดนาม(ร้อยละ 0.24) ซึ่งในปัจจุบันทั้งไทยและเวียดนามมีการขยายปริมาณการผลิตสุกร แต่เวียดนามมีข้อจำกัดคืออัตราการบริโภคสุกรและผลิตภัณฑ์ในเวียดนามอยู่ในเกณฑ์สูงที่สุดในอาเซียน คือ 21.9 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสุกรและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ไทยมีอัตราการบริโภคเพียง 13.5 กิโลกรัมต่อ คนต่อปี และมีความสามารถในการขยายการผลิตและผลักดันการส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์ โดยทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขอุปสรรคสำคัญในการส่งออกคือ การยื่นต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(The Office International des Epizooties :OIE) เพื่อขอขยายเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออก

ประเทศในอาเซียนเป็นที่น่าจับตามองในแง่ของศักยภาพของการขยายการเลี้ยงสุกรเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของจำนวนประชากร และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ที่ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรและ ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งศักยภาพในการลงทุนของโรงงานแปรรูปสุกร ตั้งแต่โรงฆ่าและชำแหละสุกรที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย ไปจนถึงโรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกร ซึ่งรัฐบาลในแต่ละประเทศในอาเซียนให้การสนับสนุนทั้งในแง่ของกิจการฟาร์มสุกร และการตั้งโรงงานแปรรูปสุกร ทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ และการขยายการส่งออกในอนาคต ซึ่งตลาด สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ในอาเซียนด้วยกันเองนับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากแต่ละประเทศในAECยังต้องพึ่งพาการนำเข้าที่แตกต่างกัน

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , | Comments Off on อุตสาหกรรมการผลิตสุกรเพื่อแข่งขันใน AEC

การส่งเสริมเพาะพันธ์และส่งเสริมการขายหมูเพื่อให้พอต่อความต้องของผู้บริโภค

18

การเลี้ยงหมูจะประสบความสำเร็จ ถ้าเอาใจใส่เรื่องการเลี้ยง และการดูแลหมูอย่างถูกต้อง แม้ผู้เลี้ยงจะมีหมูพันธุ์ดีก็ตาม แต่ถ้าละเลยในสิ่งเหล่านี้แล้ว ปัญหาต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น พ่อหมูผสมไม่เก่ง ผสมติดน้อย แม่หมูคลอดลูกยาก ลูกหมูป่วยเป็นโรคท้องเสีย และมีอัตราการตายสูง เป็นต้นหมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ได้ดี ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีขนาดและอายุที่พอเหมาะ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำเชื้อที่มีคุณภาพดีพอเพียง มีผลทำให้การผสมติดสูง และได้จำนวนลูกมากเป็นปกติ แม้ว่าหมูตัวผู้สามารถผลิตอสุจิได้บ้างแล้ว เมื่อมีอายุย่างเข้า 4 เดือนก็ตาม แต่จำนวนน้ำเชื้อ และอสุจิที่ผลิตได้ จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อหมูมีอายุมากขึ้น ดังนั้น หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ ควรมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่จะผสมกับแม่หมูที่มีขนาดปกติได้ โดยปกติมักใช้ผสมพันธุ์ ได้เมื่อมีอายุราว ๘ เดือน และมีน้ำหนักประมาณ 80-90 กิโลกรัม สำหรับหมูพ่อพันธุ์ต่างประเทศ ควรมีน้ำหนักราว 115 กิโลกรัม

การเลี้ยงหมูพ่อพันธุ์ ปกติให้อาหารวันละมื้อ พ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วน ควรให้ออกกำลังบ้าง หรือลดอาหาร และให้อาหารหยาบมากขึ้น หมูพ่อพันธุ์ถ้าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากผู้เลี้ยง จะสามารถใช้งานได้หลายปี โดยไม่มีข้อบกพร่อง แม้จะใช้ผสมพันธุ์วันละสองครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่ควรใช้งานมากเกินไป เพราะการผสมบ่อยๆ หรือติดๆ กัน จะทำให้จำนวนอสุจิลดน้อยลง และอาจมีอสุจิตัวอ่อนที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้นหลังจากฤดูผสมพันธุ์ ควรจะให้ตัวผู้ได้พักผ่อน และออกกำลังกาย โดยปล่อยในทุ่งหญ้า

การผสมพันธุ์แม่หมู ควรกะเวลาให้พอดี กับระยะการตกไข่ เพราะจะทำให้ได้ผลดีกว่าการผสมในเวลาอื่น แม่หมูส่วนใหญ่จะกลับเป็นสัด อีกภายใน 3-7 วัน หลังการหย่านม แม่หมู แสดงการเป็นสัดนานประมาณ 48-72 ชั่วโมง การตกไข่เกิดขึ้นประมาณช่วงกลางๆ ของการเป็นสัด แต่ไข่จะไม่ตกพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด การผสมหมูสาว หรือแม่หมู ควรผสมซ้ำ หรือผสมครั้งที่สอง โดยทิ้งระยะให้ห่างจากครั้งที่หนึ่งประมาณ 12 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ปกติการผสมพันธุ์หมูมักทำในตอนเช้าและเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน ไม่ควรผสมพันธุ์หมูขณะที่ป่วย หรือหลังการฉีดวัคซีนใหม่ๆ วิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้การผสมพันธุ์ได้ผลดีขึ้น และเพิ่มลูกต่อครอกให้มากขึ้น

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on การส่งเสริมเพาะพันธ์และส่งเสริมการขายหมูเพื่อให้พอต่อความต้องของผู้บริโภค

แนวทางการแก้ปัญหา การตลาดสุกร และส่งเสริมการขายสุกร

การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยถึงแม้จะมีพัฒนาการมายาวนาน แต่เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีอิสระเสรีในการเลือกเลี้ยงสุกรและขยายการเลี้ยงมากขึ้นในช่วงที่สุกรมีราคาดี และเพราะแรงจูงใจด้านราคาทำให้ผู้เลี้ยงขยายการเลี้ยงอย่างไม่มีขีดจำกัด เมื่อปริมาณสุกรมีมากเกินความต้องการผลที่ตามมาราคาก็จะตกต่ำ จนถึงระดับที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรแบกรับภาระการขาดทุนไม่ไหว ก็จะหยุดเลี้ยงสุกรไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปริมาณสุกรลดลงถึงระดับที่ไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการของตลาด ราคาสุกรก็จะกลับปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จนกระทบถึงผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เหตุการณ์จะปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเช่นนี้ตลอดมา กล่าวคือ ราคาสุกรและปริมาณการเลี้ยงสุกรจะผันผวนเป็นวัฏจักรที่เรียกกันว่า “วัฎจักรสุกร” หรือ Hog Cycle ประกอบกับปัญหาโรคระบาดสัตว์ โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย รวมทั้งการใช้สารต้องห้ามบางชนิดในสุกรส่งผลให้ตลาดสุกรของไทยไม่พัฒนาก้าวหน้าไปเท่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ และการที่เนื้อสุกรของไทยไม่สามารถส่งออกไปขายในตลาดสำคัญ ๆ ในต่างประเทศที่นิยมบริโภคสุกร เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำให้การแก้ปัญหาวัฏจักรสุกรที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้นโยบายการส่งออกเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ส่งผลให้อุตสาหกรรมสุกรของไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุดได้ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีการผลิตสุกร ความเพียงพอด้านพืชอาหารสัตว์ที่มีหลากหลายชนิด และการสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวนมากที่สามารถพัฒนาไปสู่การเลี้ยงสุกรเพื่อการค้าได้ แต่เพราะข้อจำกัดด้านการตลาดและความไม่แน่นอนชัดเจนในนโยบายของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรทำให้อุตสาหกรรมสุกรของไทยย่ำอยู่กับที่ไม่มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศคู่แข่งทั่วโลก เช่น ประเทศจีน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เป็นต้น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตการตลาดสุกรอย่างยั่งยืน คือ สืบเนื่องจากการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพทางปศุสัตว์ที่มีความสำคัญต่อทางด้านเศรษฐกิจปศุสัตว์ของประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับหลายสาขาทั้งผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการ ในส่วนของการตลาดการแปรรูปและผู้บริโภค เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอาชีพการเลี้ยงสุกรทั้งระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged | Comments Off on แนวทางการแก้ปัญหา การตลาดสุกร และส่งเสริมการขายสุกร

การส่งเสริมการขายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

การส่งเสริมการขายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

จากข้อร้องเรียนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ สามารถสรุปสภาพปัญหาที่เป็นข้อร้องเรียนได้ว่า การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยถึงแม้จะมีพัฒนาการมายาวนาน แต่เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีอิสระเสรีในการเลือกเลี้ยงสุกรและขยายการเลี้ยงมากขึ้นในช่วงที่สุกรมีราคาดี และเพราะแรงจูงใจด้านราคาทำให้ผู้เลี้ยงขยายการเลี้ยงอย่างไม่มีขีดจำกัด เมื่อปริมาณสุกรมีมากเกินความต้องการผลที่ตามมาราคาก็จะตกต่ำ จนถึงระดับที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรแบกรับภาระการขาดทุนไม่ไหว ก็จะหยุดเลี้ยงสุกรไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปริมาณสุกรลดลงถึงระดับที่ไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการของตลาด ราคาสุกรก็จะกลับปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จนกระทบถึงผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เหตุการณ์จะปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเช่นนี้ตลอดมา กล่าวคือ ราคาสุกรและปริมาณการเลี้ยงสุกรจะผันผวนเป็นวัฏจักรที่เรียกกันว่า “วัฎจักรสุกร” หรือ Hog Cycle ประกอบกับปัญหาโรคระบาดสัตว์ โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย รวมทั้งการใช้สารต้องห้ามบางชนิดในสุกรส่งผลให้ตลาดสุกรของไทยไม่พัฒนาก้าวหน้าไปเท่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ และการที่เนื้อสุกรของไทยไม่สามารถส่งออกไปขายในตลาดสำคัญ ๆ ในต่างประเทศที่นิยมบริโภคสุกร เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำให้การแก้ปัญหาวัฏจักรสุกรที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้นโยบายการส่งออกเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ส่งผลให้อุตสาหกรรมสุกรของไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุดได้ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีการผลิตสุกร ความเพียงพอด้านพืชอาหารสัตว์ที่มีหลากหลายชนิด และการสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวนมากที่สามารถพัฒนาไปสู่การเลี้ยงสุกรเพื่อการค้าได้ แต่เพราะข้อจำกัดด้านการตลาดและความไม่แน่นอนชัดเจนในนโยบายของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรทำให้อุตสาหกรรมสุกรของไทยย่ำอยู่กับที่ไม่มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศคู่แข่งทั่วโลก เช่น ประเทศจีน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เป็นต้น

แม้ว่าการดูแลด้านนโยบายสุกรของรัฐ จะมีคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติดูแล แต่ในความเป็นจริงคณะกรรมการชุดนี้มีการประชุมน้อยครั้งมากในแต่ละปี และยังขาดความชัดเจนเชิงนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมดูแล และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมสุกรแห่งชาติการที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นความรับผิดชอบที่สำคัญที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกระดับจะต้องดูแลจะต้องรับผิดชอบด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจะต้องถือปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ด้วย เกี่ยวกับปัญหานี้ปรากฏว่า มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับมลภาวะจากฟาร์มสุกรของประชาชนโดยทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่เข้าสู่กระบวนการบริหารอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาเองก็มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการสร้างฟาร์มสุกรในพื้นที่ไม่สมควรเข้ามาด้วยเช่นกัน

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , , | Comments Off on การส่งเสริมการขายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร